วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

18 สิงหาคม

คำสั่งOSPF

OSPF เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้บนเน็ตเวิร์ก IP โดยคณะทำงาน Interior Gateway Protocol (IGP) ย่อยแห่งคณะกรรมการ Internet Engineering Task Force (IETF) คณะทำงานนี้ได้ถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1998 เพื่อทำหน้าที่ออกแบบเร้าติ้งโปรโตคอลที่ใช้บนเน็ตเวิร์กภายในองค์กร โดยมีพื้นฐานมาจากอัลกอริทึมในทางคอมพิวเตอร์แบบ Shortest Path First (SPF) อัลกอริทึมนี้มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Dijkstra’S Algorithm ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อของนักคณิตศาสตร์ที่เป็นผู้ออกแบบและคิดค้นอับกอ ริทึมนี้

OSPF
ได้รับการออกแบบมาเพื่อเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆที่เคยมีในเร้าติ้งโปรโตคอลแบบ Distance Vector OSPF นั้นสามารถตอบสนองได้รวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเน็ตเวิร์ก และมีการส่ง “triggered updates” ไปในทันทีโดยอัตโนมัติ และส่ง “Periodix update” ไปทุก ๆ ช่วงเวลาเช่น ทุก ๆ 30 นาที นอกจากนั้นยังมีกลไกล ที่ดีในการตรวจสอบสถานการณ์สื่อสาร ระหว่างเร้าเตอร์ปัจจุบันกับเร้าเตอร์ข้างเคียงต่าง ๆ ด้วย “ Hello Mechanism”

โดยสรุปแล้ว OSPF มีคุณลักษณะที่สำคัญได้แก่
-
เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลมาตรฐานและเป็นมาตรฐานสากล ข้อกำหนดและพฤติกรรมต่าง ๆ ได้รับการอธิบายไว้อย่างชัดเจนใน RFC (Request for Comments) IETF ได้พัฒนา OSPF ขึ้นมาในปี 1988 ส่วนเวอร์ชันล่าสุดซึ่งรู้จักกันในนาม OSPF เวอร์ชัน 2 ได้รับการอธิบายไว้ใน RFC 2328
-
เป็นเร้าติ้งโปรโตคอลที่อาศัยการอัปเดตสถานะของเน็ตเวิร์กอินเตอร์เฟซไปให้ กับเร้าเตอร์เพื่อบ้านแล้วให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านสร้างภาพรวมของเน็ตเวิร์ กทั้งหมด และคำนวณหาเส้นทางเอง แต่จะไม่ ส่งเร้าติ้งเทเบิลทั้งตารางไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านเหมือนกันในกรณีของ Distance Vector
-
มีการเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดโดยพิจารณาจากแบนด์วิดธ์ (Bandwidth)
-
รอง รับการตั้งแอดเดรสแบบมีจำนวนบิตของ Subnet Mask ไม่เท่ากัน (Variable Length Subnet Mask: VLSM) และมีการส่ง Subnet Mask ไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านด้วย
-
รอง รับการสร้างสิ่งที่เรียกว่า “OSPF Area” ซึ่งสามารถทำให้เน็ตเวิร์กที่ใช้งาน OSPF สามารถจัดแบ่งเน็ตเวิร์กออกเป็นโซนหรือพื้นที่ย่อย ๆ ได้ (เรียกว่าการแบ่ง Area) ทั้งนี้เพื่อจำกัดสโคป หรือขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงเน็ตเวิร์กโทโพโลยี
-
รอบรับการทำ “Route summarization”
-
รองรับการทำการกระจายแพ็กเก็ตไปบนเส้นทางที่มีแบนด์วิดธ์เท่ากัน
-
สามารถทำ “Route authentication” ระหว่างเร้าเตอร์เพื่อตรวจสอบตัวตนซึ่งกันและกันก่อน
ที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
-
ไวมากต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงเน็ตเวิร์กโทโพโลยี (Fast convergence)
Wireshark
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดักจับ Packet ที่มีการรับส่งกันบนเครือข่าย ในการดักจับ Packet นั้น โปรแกรม Wireshark นั้นจะต้องทำงานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น
Network Diagram
ที่ใช้ Wireshark ในการดักจับ packet แสดงภาพของ Network Diagram ที่ใช้ในการดักจับ Packet ของการทำงานของ Open Shortest Path First (OSPF) Protocol ซึ่งจะเป็นการติดต่อเปลี่ยนแปลง Update Routing Protocol ระหว่าง Core Switch และ Router ใน Area เดียวกับการค้นหาเร้าเตอร์ ข้างเคียงที่รัน OSPF จะเกิดขึ้นด้วยการส่งแพ็กเก็ตพิเศษที่เรียกว่า HELLO PACKET ออกไปไปโดยใช้มัลติคาสก์แอดเดรส 224.0.0.5 หลังจากนั้นแอดเดรสของเร้าเตอร์ ข้างเคียงที่ค้นพบได้จะถูกเก็บไว้ในตาราง OSPF Neighbor Table
ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงหมายเลข IP Address ของเร้าเตอร์ และ Switch ข้างเคียง แต่ละตัวที่ค้นพบได้ทางซีเรียสอินเตอร์เฟซต่างๆ กัน เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้านถูกสร้างขึ้นได้สำเร็จ สถานะ (State) ที่เห็นจะอยู่ในสถานะ FULL

หลัง จากฟอร์มความสัมพันธ์ระหว่างกันได้แล้ว เร้าเตอร์จะมีการส่ง Hello packet ออกไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านทุก ๆ ระยะๆ ตามช่วงเวลาที่เรียกว่า Hello Interval เพื่อยืนยันว่าตนเองยังมีชีวิตอยู่ หากเร้าเตอร์ไม่ได้ รับ HELLO PACKET มาจาเร้าเตอร์เพื่อนบ้านหลังจากช่วงเวลาที่เรียกว่า Dead Interval ผ่านไปมันตะถือว่าเร้าเตอร์เพื่อนบ้านนั้น ๆ ได้ดาวน์ลงไป
รูปแบบของ Hello Packetในการสร้างความสัมพันธ์ของ Protocol OSPF จาก Core Switch ที่มี Source IP Address เป็น 172.18.19.252 ซึ่งมี Destination IP Address เป็น 244.0.0.5 (Multicast Address)
BGP (Border Gateway Protocol)
เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Exterior Gateway Routing ที่ใช้เพื่อการเชื่อมต่อเราเตอร์ (Router) และเครือข่ายที่อยู่ต่างโดเมน (Domain) กันบนอินเทอร์เน็ต
BGP
ใช้ Protocol TCP Port หมายเลข 179 เพื่อใช้ในการขนถ่ายข้อมูลข่าวสาร โดยมีการใช้ TCP เพื่อการสถาปนาการเชื่อมต่อก่อนจะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเราเตอร์ BGP ทั้งสอง (Peer Router)

ไม่มีความคิดเห็น: